ประกาศจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ถึงสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศไทย อัพเดทล่าสุด ผู้ติดเชื้อโควิด COVID19 รายวัน ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 149 ราย โดยมีรายงานสถานการณ์ ดังต่อไปนี้

ตารางสรุป ผู้ติดเชื้อโควิด COVID19  รายใหม่ในประเทศไทย

ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2564

ผู้ติดเชื้อในประเทศจังหวัดจำนวน
# ประวัติไปสถานที่เสี่ยง, มีอาชีพเสี่ยง, สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้  
 กทม.10
 สมุทรสาคร3
 ราชบุรี2
 นครปฐม3
 ปทุมธานี2
 เพชรบุรี1
การคัดกรองเชิงรุกในชุมชนจังหวัดจำนวน
 ปทุมธานี2
 สมุทรสาคร31
 กทม.90
   
มาจากต่างประเทศประเทศจำนวน
 สวิตเซอร์แลนด์1
 เยอรมนี1
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์2
   
# เข้าประเทศตามเส้นทางธรรมชาติ  

รายงานสถานการณ์ COVID-19 *ระลอกใหม่*

ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 63 – 16 มี.ค. 64

ผู้ป่วยใหม่ผู้ป่วยยืนยันสะสมหายป่วยแล้วเสียชีวิต
+14922,91722,122 (+65)
เสียชีวิตสะสม 27 คน
  • รวมติดเชื้อสะสมในไทยทั้งสิ้น 27,154 (+149) ราย
  • รักษาหายแล้ว 26,299 (+65) ราย
  • ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ 684 ราย
  • เสียชีวิต 87 (-) ราย

ตารางสรุป ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 รายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2564

ประเทศ
Country
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส
Confirmed
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่
New Cases
ผู้เสียชีวิต
Deaths
จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม
New Deaths
รักษาหาย
Recoveries

อินโดนีเซีย
Indonesia
1,425,044+5,58938,5731471,249,947

ฟิลิปปินส์
Philippines
626,893+5,40412,8378560,577

มาเลเซีย
Malaysia
324,971+1,2081,2133308,247

เมียนมา
Myanmar
142,147 3,202 131,739

สิงคโปร์
Singapore
60,117+1230 59,974

ไทย

Thailand
27,154+14987 26,299

เวียดนาม
Vietnam
2,557+335 2,115

กัมพูชา
Cambodia
1,325+201 730

บรูไน
Brunei
199 3 185

ลาว
Laos
48   42

คำแนะนำสำหรับประชาชน

  1. ประชาชนที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หลังเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูกไอ เสมหะ หายใจเร็ว หอบให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
  2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาด และหากจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ขอให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
  3. ประชาชนทั่วไป ขอให้ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน ใช้มาตรการ กินร้อน ช้อนกลางล้างมือ และสวมหน้ากากป้องกันโรคเวลาไอ จาม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ

ประเทศไทย ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรอง และป้องกันควบคุมโรค ดังนี้1. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 46 แห่ง คัดกรองผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศ

  • ท่าอากาศยาน 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ กระบี่
  • ท่าเรือ 6 แห่ง คือกรุงเทพมหานคร แหลมฉบัง พาณิชย์เชียงแสน ภูเก็ต สมุยและกระบี่
  • ด่านพรมแดนทางบก 34 แห่ง

2. สถานพยาบาล (ภาครัฐและเอกชน) คัดกรอง

  • ผู้ที่มีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับมีประวัติเสี่ยง
  • ผู้ป่วยปอดอักเสบที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อโควิด-19
  • ผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเป็นกลุ่มก้อนที่มีความเชื่อมโยงกันทางระบาดวิทยา

3. เฝ้าระวังในชุมชน ให้ความรู้ประชาชน เมื่อพบผู้เดินทางมาจากเขตติดโรคติดต่ออันตรายหรือพื้นที่เสี่ยง ตามประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีไข้ ร่วมกับมีอาการ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้แจ้งบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค DDC Hotline 1422 รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครเข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังหรือเข้มงวดในการกักกันตนเอง และปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง